วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของวันปีใหม่


ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
        ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ 

ประวัติความเป็นมา 
       วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
       ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
      แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย 
         ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน 
          การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

          การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

         ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 
     1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 
     2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 
     3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 
     4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย 

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ ได้แก่ 
     1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 
     2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 
      3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ 
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ 
       วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย 

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง) 

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ 

เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ 
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 

ดาวน์โหลดเพลง พรปีใหม่
โค้ด HTML:
http://www.4shared.com/file/129015103/865614f2/09_-_.html


เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย


ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง


พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง

พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง

บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันคริสต์มาส Christmas Day





ภาพ : กษัตริย์สามพระองค์เสด็จเยี่ยมพระเยซูภายหลังจากคืนที่ 12 ของวันประสูติ
ประวัติความเป็นมา
คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ (Christmas) ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้าคำว่า “Christes Maesse” พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ (เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1038) และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันประสูติของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในรัชกาลของจักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรีย ก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 23 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิซาไกกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริย เทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 – ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย


คำอวยพร Merry X’mas
Merry X’mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่าสันติสุขและความสงบทางใจคำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาล คริสต์มาส ชาวไทยฉลองเฉลิมพระชนม์พรรษาวันที่ 5 ธันวาคมเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระมหากษัตริย์ ทุกปีชาวโรมันมีการระลึกถึงการสมภพของพระเจ้าจักรพรรดิ คนท้องถิ่นอื่นก็ระลึกถึง และเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์หรือผู้ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความยินดี แม้แต่ชาวยิวในสมัยของ พระเยซูเอง ก็ฉลองการเกิดของกษัตริย์ เฮรอด เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ชาวคริสต์ สมัยโบราณถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึก ถึงการบังเกิดของพระเยซูที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณี นี้ ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษ ที่ 4 และ ค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป
 
เราจะเห็นได้ว่าวันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระบุตรของพระเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระองค์เป็นพระเจ้า ที่จะอยู่กับเราตลอดไปเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เป็นพี่หัวปีที่จะนำมนุษย์ทั้งมวลไปสู่พระบิดาเจ้า พระองค์เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ ตามคำ สัญญาของพระเจ้าที่จะดูแลป้องกันรักษาเราผู้เป็นประชากรของพระองค์ เราเป็นเหมือนลูกแกะที่หายไป แต่พระเยซูเป็นชุมพาบาลใจดี ที่ ตามหาเราจนพบ และจะไม่มีอะไรที่จะแยกเรากับพระองค์ได้อีกเลย มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนจะรวยหรือจน คนศรัทธาหรือ คนบาป ล้วนมีความสำคัญต่อหน้าพระเจ้าเสมอ เพราะตั้งแต่การเสด็จมาบังเกิดของพระเยซูนั้น พระเป็นเจ้าพระบิดา ทรงเห็นพระฉายา ลักษณ์ของพระบุตรในมนุษย์ทุกคน เราก็เช่นเดียวกัน เราต้องรักซึ่งกันและกันเหมือนอย่างที่เรารักพระเจ้า มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนเหล่านั้น จะเป็นคนยากจน คนต่างชาติ หรือคนที่วางตัวเป็นศัตรูกับเราเขาจะรักพระเจ้าที่เขามองไม่เห็นได้อย่างไร ถ้าเขาไม่รักพี่น้องที่มองเห็นได้นี่แหละเป็นพระดำรัสที่พระเยซูประทานแก่เรา คนที่รักพระเจ้าต้องรักพี่น้องของตนด้วย


ต้นคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาส ในสมัยโบราณหมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากินและทำบาปไม่เชื่อฟังพระเจ้า ตั้งแต่ ศตวรรษที่11 ชาวคริสต์แสดงละครที่หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาสและเอาตันไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลางเพื่อประดับฉาก แสดงถึง บาปกำเนิดของอาดัมและเอวาต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่หาง่ายที่สุดในประเทศเหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปีจนถึงศตวรรษที่15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้นกลายเป็นการเล่น เหมือน ลิเกล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนาซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง

ชาวบ้านรู้สึกเสียดายที่ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆแบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของ ตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน เพราะต้นไม้เป็นจุดเด่นในลานวัด ที่เขาเคยร่วมสนุกกัน จากนั้นก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ลและแขวนแผ่นขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหา สนิท ซึ่งก็มีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็กลายเป็นขนมและของขวัญ อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาสมีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ก็ยัง นิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่ามีความหมายถึงพระเยซู ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึงนิรันดรภาพของพระเยซู และนอกจากนั้น ยังหมายถึงความสว่าง ของพระองค์เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยัง หมายถึงความชื่นชมยินดีและความสามัคคีที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น



ซานตาครอส
ซานตาครอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ที่เด็กและผู้คนนิยมกันมากที่สุดในเทศกาลคริสต์มาส แต่ที่จริง ซานตาครอสแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาครอส มาจากนักบุญ นิโคลาส เป็นนักบุญ ชาวฮอลแลนด์นับถือเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษา ประเพณีนี้ไว้ คือฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วม ในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ ประเพณี นี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและ แพร่หลายไปในอเมริกา โดย มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่อ้วนใส่ชุดสีแดงอาศัย อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อน เป็นยานพาหนะมีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมา ทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้ เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติ ของเขา 
 
ลักษณะภายนอกของซานตาคลอสที่ถูกสมมติขึ้นนี้ เหมือนกับจะลอกเลียนแบบมาจาก Thor ซึ่งเป็น เทพเจ้า ในนิยายโบราณของเยอรมัน และ ลอกเลียนแบบนักบุญนิโคลาส ที่นำของขวัญมาแจกเด็กๆ อันที่จริง ซานตาคลอส เป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่ อาจจะทำให้คน ทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระ เยซู ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง ของเทศกาลคริสต์มาสนี้


ถุงเท้า
จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาส ไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง

การทำมิสซาเที่ยงคืน
เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็น เวลาเที่ยงคืน พระสัน ตะปาปาก็ทรงถวายบูชา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อ สัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระ สันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติ ของพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมี ธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน




 เทียนและพวงมาลัย
ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบ เป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้นในตอน กลางคืนของวันอาทิตย์ แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุก อาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อน คริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยม และแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งต่อมา มีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรง กลาง 1 เล่มไป แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่าน ไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็น สัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ ของพระเป็นเจ้า
 ขอขอบคุณ http://blog.eduzones.com/rangsit/38296

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฟอร์มรายงานตนเอง SAR

1.  ข้อมูลทั่วไป
    1.1 ชื่อ  ............................................................นามสกุล  ............................................................
    1.2 ตำแหน่ง  ...........................................................  อายุ ...........  ปี
          ปฏิบัติราชการ/งาน      เป็นเวลา ............  ปี
    1.3 วุฒิการศึกษา
        r  เทียบเท่า / อนุปริญญาตรี .............................  วิชาเอก .....................................................
        r  ปริญญาตรี.............................................................................................................................      
           วิชาเอก ....................................  วิชาโท .....................................................
        r  ปริญญาโท.............................................................................................................................      
            สาขา ........................................  วิชาเอก .....................................................

2.  การพัฒนาตนเองปีการศึกษา  2555   
    ปีการศึกษา 2555 ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเอง โดยเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน ร่วมกิจกรรมทางวิชาการรวมทั้งศึกษาด้วยตนเอง จำนวน...........ครั้ง ดังนี้
รายการ
เรื่อง
วัน เดือนปี
หน่วยงาน/สถานที่
การอบรม/สัมมนา/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/การร่วมกิจกรรมทางวิชาการ



.........



........



การศึกษาดูงาน



.......



การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง



           r  การผลิตและการใช้สื่อได้แก่ .............................................................................................................
           r  โครงงาน............................................................................................................................................
           r  วิจัยในชั้นเรียน  ได้แก่ (ภาคเรียนละ 1 เรื่อง)..................................................................................

3.  การปฏิบัติงานในหน้าที่
    3.1 หน้าที่ด้านการสอน  ในปีการศึกษา 2555
           ปฏิบัติการสอนชั้น...............................นักเรียนจำนวน ........คน สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
           ปฏิบัติการสอนรายวิชา...................... จำนวน ........ ห้อง   จำนวน ........... คาบ/ชมดังนี้
ตาราง 1  แสดงจำนวนรายวิชา  ห้องเรียน นักเรียน คาบเรียน ที่ปฏิบัติการสอน
ที่
รายวิชา
ห้อง
จำนวน นร.
จำนวนคาบ/ชม

























    3.2  หน้าที่ตามได้รับมอบหมายพิเศษ เช่น

        1)  ทำหน้าที่ครูวิชาการ
        2)  ครูที่ปรึกษานักเรียนชั้น .....มีจำนวนนักเรียน ........... คน
        3)  หัวหน้าฝ่ายประกันคุณภาพภายใน
        4)  งานโครงการพิเศษได้แก่ โครงการ............................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4.  ผลการปฏิบัติงานปีการศึกษา 2555
    4.1  ผลการการปฏิบัติงานในหน้าที่สอน
           ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่สอนชั้น.......วิชา ................................................นักเรียนจำนวน......คน ปีการศึกษา 2555 ซึ่งปรากฏผลตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ดังนี้

 (การกรอกข้อมูลรายมาตรฐานให้ดูเกณฑ์การประเมินในคู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา)

มาตรฐานที่ 1    ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ5  คะแนน )

ตัวบ่งชี้

ระดับคุณภาพ
(ใส่จำนวนนักเรียน)

จำนวน
นรที่ได้ระดับ3 ขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ
คะแนน


1
2
3
4
5
1.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ









1.2  มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน









1.3  ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรค ภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ









1.4    เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้า
แสดงออกอย่างเหมาะสมมีความเมตตากรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  และ  เสียสละเพื่อส่วนรวม









1.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น









1.6 สร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์/กีฬา/นันทนาการ ตามจินตนาการ









รวมคะแนนตัวบ่งชี้ที่ 1-6




ความตระหนักและความพยายามของครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตาม มาตรฐานที่ 1
          จัดกิจกรรมโครงการใดบ้างเพื่อพัฒนานักเรียนให้บรรลุตามมาตรฐานที่ 1…

สรุปผลการ ประเมินตนเองตาม  มาตรฐานที่  1  
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน      ปรับปรุง     พอใช้     ดี      ดีมาก

มาตรฐานที่ 2    ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวบ่งชี้
ระดับคุณภาพ
(ใส่จำนวนนักเรียน)
นร.ที่ได้ระดับ3 ขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ
คะแนน
1
2
3
4
5
2.1 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร








2.2 เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ








2.3 ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง








2.4 ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม








รวมคะแนนตัวบ่งชี้ 1-4


ความตระหนักและความพยายามของครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 2
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลและนิเทศการศึกษาตาม  มาตรฐานที่  2 
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน    ปรับปรุง   พอใช้    ดี    ดีมาก    




มาตรฐานที่ 3    ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้
ระดับคุณภาพ
(ใส่จำนวนนักเรียน)
นร.ที่ได้ระดับ3 ขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ
คะแนน
1
2
3
4
5
3.1  มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้และสื่อต่าง ๆ รอบตัว








3.2 มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม








3.3 เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน








3.4 ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน











ความตระหนักและความพยายามของครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 3
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการ ประเมินผลตาม  มาตรฐานที่  3  
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน    ปรับปรุง   พอใช้    ดี    ดีมาก             







มาตรฐานที่ 4    ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ
                                 แก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล

ตัวบ่งชี้
ระดับคุณภาพ
(ใส่จำนวนนักเรียน)
นร.ที่ได้ระดับ3 ขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ
คะแนน
1
2
3
4
5
4.1 สรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ฟัง ดู และสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง








4.2 นำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง








4.3 กำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ








4.4  มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ








รวมคะแนนตัวบ่งชี้ 1-4


ความตระหนักและความพยายามของครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 4
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการ ประเมินตาม  มาตรฐานที่  4  
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน    ปรับปรุง   พอใช้    ดี    ดีมาก    





มาตรฐานที่ 5    ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้
ร้อยละ
ระดับคุณภาพ
คะแนน
1
2
3
4
5
5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์







5.2 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์







5.3 ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์







5.4 ผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์







รวมคะแนนตัวบ่งชี้ที่ 1-4


ความตระหนักและความพยายามของครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 5
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการ ประเมินตาม  มาตรฐานที่  5 
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน    ปรับปรุง   พอใช้    ดี    ดีมาก    




มาตรฐานที่ 6    ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และ
มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

ตัวบ่งชี้
ระดับคุณภาพ
(ใส่จำนวนนักเรียน)
นร.ที่ได้ระดับ3 ขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ
คะแนน
1
2
3
4
5



6.1 วางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ








6.2 ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง








6.3 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้








6.4 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ








คะแนนรวมตัวบ่งชี้ที่ 1-4


ความตระหนักและความพยายามของครูในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 6
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการ ประเมินตาม  มาตรฐานที่  6
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน    ปรับปรุง   พอใช้    ดี    ดีมาก    




มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 7  ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ตัวบ่งชี้
ระดับคุณภาพ
1
2
3
4
5
7.1 ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการสมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์





7.2 ครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน





7.3 ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและ
พัฒนาการทางสติปัญญา





7.4 ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้





7.5 ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย





7.6 ครูให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค





7.7 ครูมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน





7.8 ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา





7.9  ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ





ค่าเฉลี่ยผลการประเมินตนเองระดับ.........

ความตระหนักและความพยายามของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 7
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการ ประเมินตาม  มาตรฐานที่  7 
มีระดับคุณภาพ               ปรับปรุงเร่งด่วน    ปรับปรุง   พอใช้    ดี    ดีมาก    

    4.2  ผลการปฏิบัติงานตามที่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายพิเศษ 
(เกณฑ์การประเมิน : ใช้ความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก) การปฏิบัติหน้าที่พิเศษ  ปรากฏผลดังนี้  (แสดงหลักฐานในภาคผนวก)
           1)  งานหน้าที่ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา
               1. ....................................................................................................................................
               2. ....................................................................................................................................
               3. ....................................................................................................................................
           สรุปได้ว่า  ระดับคุณภาพการปฏิบัติงาน  เมื่อประเมินด้วยตนเองแล้ว  อยู่ในระดับ
               r  ดีมาก   r  ดี        r  พอใช้ r  ควรพัฒนา
           2)  งานวิชาการ....................................................................................................................
               1. ....................................................................................................................................
               2. ....................................................................................................................................
               3. ....................................................................................................................................
            3) งานโครงการ..............................................................................................................................
        ผลการดำเนินตามโครงการ....................บรรลุตามวัตถุประสงค์เป้าหมายเท่าไร(โดยสรุป)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

5.  กิจกรรม/ผลงาน/ชิ้นงานเด่นที่ดีมีความภาคภูมิใจและประทับใจที่ได้ดำเนินการในภาคเรียนนี้ คือ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

๖.ความรู้สึก หรือคุณค่าที่ไดรับจาการปฏิบัติหน้าที่เป็นครูต่อนักเรียน มีดังนี้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

๗. ในการปฏิบัติการสอนภาคเรียนนี้ได้ค้นพบความรู้ใหม่ ดังนี้คือ
1)  สื่อการสอน ได้แก่..................................................................................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2)  วิธีการสอนที่พบว่าประสบผลสำเร็จมากที่สุด คือ..................................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3)  ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ คือ .........................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

๘.ปัญหา  อุปสรรค  และข้อเสนอแนะ
    r  ปัญหาหรืออุปสรรค  คือ ....................................................................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    r  สิ่งที่ควรพัฒนา  คือ ..................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………    
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………    
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………    
    r  ข้อเสนอแนะ คือ..................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………    
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………    
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………    



                                      ลงชื่อ .......................................................  ผู้รายงาน
                                      (......................................................)
                                      ตำแหน่ง  ครู  คศ. ....................................









ภาคผนวก
1.รายชื่อนักเรียน
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายคน
3.ผลสอบระดับชาติ(ถ้ามี)
4.ผลการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง/ ทดสอบสมรรถภาพ
5.การวิเคราะห์ผู้เรียนรายคน (ประเภทเด็กพิการ/เด็กเก่ง/ ปานกลาง/อ่อน )
6.ผลการติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียน(เช่นด้านสภาพครอบครัว ผลการเยี่ยมบ้านเป็นต้น)
7.ผลงานครู เกียรติบัตร รางวัลที่ได้รับ
8.ภาพกิจกรรมที่ได้เข้าร่วม
ฯลฯ

หมายเหตุ  ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ ได้ทาง Google-ไดรฟ์ ดาวน์โหลดงานโรงเรียน